ฟื้นแล้ว! “เอส กันตพงศ์” พ้นวิกฤต ทีมแพทย์และครอบครัวแถลงอัปเดตอาการ

หลังจากที่พระเอกชื่อดังวิกหมอชิต “เอส-กันตพงศ์ บำรุงรักษ์” วูบหมดสติ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม และยังคงนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ท่ามกลางความห่วงใยและกำลังใจจากคนรอบตัวรวมไปถึงแฟนละครอย่างล้นหลาม และภาวนาให้หายดีโดยไว

และเมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา “เอ – ศุภชัย ศรีวิจิตร” ผู้จัดการส่วนตัวได้เปิดเผยว่า ทิศทางการรักษามีแนวโน้มดีขึ้น และทางครอบครัวจะแถลงพร้อมทีมแพทย์เพื่ออัปเดตอาการ

โดยวันนี้ (22 มิ.ย.66) คุณแม่ “อชิรญาณ์ ศรีโสม” , “คริสติน่า” ภรรยา , เอ ศุภัยชัย ผู้จัดการส่วนตัว และทีมแพทย์ นพ. อชิรวินทร์ จิรกมลชัยสิริ แพทย์ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ สถาบันโรคหัวใจ ร.พ บำรุงราษฎร์ ได้แถลงถึงอาการของพระเอกคนดัง

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีนเชื้อเป็น (mRNA) กลุ่มวัยรุ่นชายเสี่ยงกว่า

คุณแม่ : “ย้อนไปวันที่ 9 พ.ค. ที่มีรายการบิ๊กดีเบต อาการที่เราเห็นได้ชัดของเอสก่อนจะหมดสติ คือเขาจะกระวนกระวาย และพยายามขยับเสื้อตลอด เหมือนเริ่มจะมีอาการหน้ามืด แล้ววันนั้นก่อนจะหมดสติ เอาได้เอียงตัวไปทางพิธีกรชายอีกท่านหนึ่ง ไม่ได้ล้มหัวฟาดลงไป แค่เอนลงไปแล้วเขาช่วยรับไว้ แล้วที่โชคดีคือมีคุณหมออยู่นั่นด้วย ก็ได้ช่วยปั๊มหัวใจอยู่สักพักใหญ่ เห็นคุณหมอบอกว่าตอนเอสหมดสติไป น่าจะหยุดหายใจเลย ก็ปั๊มหัวใจกันไปเรื่อยๆ จนถึงห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตำรวจ ปั๊มขึ้นมาได้ 2 นาที แล้วก็หยุดไปอีก แล้วก็ปั๊มขึ้นมาได้สักพักหนึ่ง จนดูว่าอาการน่าจะเข้าที่ หลังจากนั้นก็มีการปฐมพยาบาล จนคิดว่าน่าจะเคลื่อนย้ายมาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ได้ เราก็พามาวันที่ 11 พ.ค. เพื่อใครคุณหมอทางนี่รักษาต่อ อาการโดยรวมตอนนี้ เราก็ยังรักษากันอยู่นะคะ แต่ถ้าจะให้ละเอียดกว่านี้ต้องถามคุณหมอค่ะ”

คุณหมอ :นับตั้งแต่ผู้ป่วยย้ายมารักษาที่โรงพยายาลบํารุงราษฎร์ 11 พ.ค. 66 ทีมแพทย์ของสถาบันโรคหัวใจแล้วก็ทีมแพทย์เฉพาะทางอีกหลายๆ สาขา ได้เข้ามาร่วมกันตรวจวินิจฉัยแล้วก็ทำการรักษา จากการวินิจฉัยโดยละเอียดจากประวัติ ตรวจร่างกายแล้วก็หลักฐานทางคลีนิคแล้วก็หลักฐานทางห้องปฏิบัติการทุกอย่าง สาเหตุของความเป็นไปได้มากที่สุดอาการของเอสคือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน (Myocarditis) ในกรณีของเอสเป็นขั้นรุนแรง ก็คือการทำงานของหัวใจมีความผิดปกติก็คือลดลงอย่างมาก แล้วก็ทำให้เกิดภาวะที่เราเรียกว่าการเต้นของหัวใจผิดจังหวะขั้นรุนแรง เป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นไป

หลังจากผู้ป่วยถูกย้ายมาจากโรงพยาบาลแห่งแรกคนไข้ถูกประเมินแล้วก็ตรวจรักษาจากโรงพยาบาลแห่งแรกแล้วก็ส่งรักษามาที่โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ ณ ตอนนั้นเอสถูกใส่เครื่องพยุงชีพ แล้วก็เครื่องช่วยหายใจ ทั้งหมด ตอนส่งมาผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างมาก แต่หลังจากที่ได้วินิจฉัยที่เป็นไปได้มากที่สุด แล้วเริ่มการรักษาคือให้ยา ผู้ป่วยมีการตอบสนองที่ดีขึ้นทุกๆ วันตลอดการรักษา ตั้งแต่เริ่มรักษาผู้ป่วยค่อยๆ ลดใช้เครื่องช่วยหายใจและเครื่องพยุงชีพได้ ณ วันที่ให้ข้อมูลนี้คือวันที่ 22 มิ.ย.การทำงานหัวใจของผู้ป่วยกลับมาใกล้เคียงปกติแต่ต้องอยู่ใสนความใกล้ชิดของแพทย์ ระบบเลือดหยุดการทำงาน ไตฟื้นกลับมาแล้ว ผู้ป่วยกลับมาใกล้เคียงปกติแล้ว แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ ทั้งนี้เพื่อติดตามอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างใกล้ชิดต่อไป

นอกจากนี้เอสมีระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ไตแล้วก็สมองเป็นอวัยวะที่ไวต่อการคาดเลือดมากที่สุดในร่างการมีความเสียหายไปหมด ณ ตอนนี้วันนี้การทำงานของไตฟื้นกลับมาได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ มีการหยุดฟอกเลือดไปแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับมาปัสสาวะได้เอง

เรื่องสมองผู้ป่วยเริ่มมีการฟื้นตัวของภาวะรับรู้ สมองเป็นไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ หลังจากนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมโดยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาท และร่วมทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูในระยะยาวอย่างต่อเนื่องต่อไป ณ วันที่ให้ข้อมูลนี้ผู้ป่วยย้ายออกมาจากหอผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้อยู่ในหอผู้ป่วยมาปกติ แล้วก็เริ่มทำกายภาพบำบัด ข้อมูลที่เกิดเผยนี้อ้างอิงจากคลีนิคของผู้ป่วยจนถึงวันที่ 21 มิ.ย.66”

ต้องใช้ระยะเลาในการพักฟื้นกว่าตะกลับมาหายเป็นปกติ?

คุณหมอ : “ คำถามที่ถามถึงอาการคนไข้ในอนาคตจะยังตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของคนไข้ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปทั้งภาวะของคนไข้เองในแต่ละคนเป็นโรคที่เป็นคำถามนั้นยังตอบไม่ได้ครับ”

ณ วันนี้คนไข้กลับมากี่เปอร์เซ็นต์แล้ว?

คุณหมอ : “ตอนนี้ตื่นและมีภาวะรับรู้แล้วก็สามารถสื่อสารง่ายๆ ได้ เท่านี้ที่สามารถอัพเดทได้ครับ”

คุณหมอสามารถสรุปได้ไหมว่าที่หยุดหายใจไปหยุดหายใจไปกี่นาที?

คุณหมอ : “ถ้าจากประวัติอย่างเดียวนะครับเท่าที่คุณแม่และคุณคริสติน่ามาที่โรงพยาบาลเท่าที่เราประเมินก็คือประมาณอย่างน้อย 20 นาทีขึ้นไปแน่นอน นี่จากการซักประวัติอย่างเดียวนะครับไม่ได้มีหลักฐานว่าหัวใจหยุดเต้นนานขนาดนั้นจริงๆ”

20 นาทีกลับมาได้ขนาดนี้ถือว่าการรักษาเป็นที่น่าพอใจไหม?

คุณหมอ : “จริงๆเราไม่พูดถึง 20 นาทีก็ได้ครับเอาแค่กลับมาได้ขนาดนี้ก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจอย่างที่แจ้งไปแล้ว”

ถ้าย้อนกลับไปหลายคนบอกว่าเกิดจากอาการฮีทสโตก ล้มลงไป?

คุณหมอ : “ อย่างที่เรียนแจ้งไปภาวะที่เป็นเป็นไปได้มากที่สุดก็คือหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงและทำให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเลยทำให้ล้มลงไปในขณะที่มีการแถลงข่าว”

จริงๆ แล้วก่อนหน้านี้เขามีประวัติการเป็นโรคหัวใจไหม?

คุณหมอ : “เท่าที่ซักประวัติจากคนไข้ไม่มีครับ”

ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่าไม่มีประวัติการเป็นโรคหัวใจ?

คุณหมอ : “ใช่ครับ จริงๆเป็นโรคที่พบได้ในทุกช่วงอายุด้วยซ้ำตั้งแต่เด็กวัยรุ่นวัยทำงานแล้วก็วัยสูงอายุ”

ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า “เอส” ทำงานเยอะมีภาวะเครียดเกี่ยวด้วยไหม?

คุณหมอ : “สำหรับอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้สุขภาพพื้นฐานแย่ลง จะบอกว่าไม่เกี่ยวก็ไม่ได้คำพูดที่หมอมักจะพูดกับคนไข้ประจำหรือคำว่า พักผ่อนให้เพียงพอแล้วก็กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งแน่นอนการทำงานหนักการมีภาวะเครียดมันก็จะทำให้สุขภาพ โดยรวมไม่ดีเท่าคนที่พักผ่อนเพียงพอหรือออกกำลังกายเพียงพอ”

หลายคนก็ไปโฟกัสกันที่อากาศร้อนทำให้เกิดภาวะนี้?

คุณหมอ : “ในภาวะที่คนไข้มีภาวะเครียด เครียดในที่นี่ไม่ใช่เครียดทางจิตใจนะครับ คนไข้น่าจะอยู่ในภาวะที่มีอาการเจ็บป่วยอยู่ แล้วอยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดีความร้อนแน่นอนมีผลแต่ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้คนไข้มีอาการทรุดลงไป”

ตอนนี้มีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วงไหม?

คุณหมอ : “ โดยรวมไม่ มีภาวะวิกฤตใดหลงเหลืออยู่ในตัวคนไข้แล้วคำว่าห่วงอย่างที่บอกก็คืออัพเดทไปทั้งสามอวัยวะ หัวใจ ไตแล้วก็สมอง ทั้งหมดยังต้องอาศัยการประเมินแล้วก็ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด (พ้นวิกฤตแล้ว?) ใช่ครับ”

ตอนนี้สามารถรับรู้อะไรแล้ว?

คุณหมอ : “รับรู้ครับ อย่างที่แจ้งไป คือทั้งหมดยังต้องใช้เวลาฟื้นฟูแล้วครับแล้วก็ตอนนี้บอกได้แค่ว่าเป็นช่วงนี้คือคนไข้มีการฝรีคัฟเวอร์ก็คือเป็นกราฟขาขึ้นเพียงแต่ว่าจะขึ้นไปสุดที่ตรงไหนหรือกลับมาที่ความปกติหรือเปล่าอย่างที่เรียนแจ้งเราไม่สามารถทำนายอนาคตได้”

แนวทางการรักษาหลังจากนี้?

คุณหมอ : “ แนวทางการรักษาหลักก็คือการกายภาพบำบัดฟื้นฟูเพื่อฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ รวมถึงฟังก์ชั่นทั้งหมดที่มีปัญหาช่วงที่หัวใจหยุดเต้นไปเป็นหลัก”

มีผลต่อเรื่องความจำด้วยไหม?

คุณหมอ : “การใช้ความจำเป็นอย่างนึงที่เราประเมินการทำงานของสมองอยู่แล้วครับ (ตอนขาดเลือดไปเลี้ยงสมองมีผลไหม?) แน่นอนว่าต้องมีครับ”

ระยะเวลาฟื้นฟูร่างกาย?

คุณหมอ : “ขึ้นอยู่กับตัวคนไข้เอง เป็นปัจจัยที่เราสามารถให้คำตอบแบบเจาะจงไม่ได้ ช่วงที่วิกฤตเราดูกันเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมง ณ ตอนนี้เราอาจจะสบายใจมากขึ้นประเมินเป็นวันต่อวันว่าผลคนไข้จะดีขึ้นแบบไหน”

“เอส” พูดอะไรเป็นสิ่งแรกหลังตื่นขึ้นมา?

คุณหมอ : “ตอนที่ฟื้นขึ้นมาก็ยังอยู่ในภาวะสับสน ซึ่งเป็นปกติ เราไม่ได้คาดหวังว่าคนไข้ที่หัวใจหยุดเต้นไปนานตื่นขึ้นมาแล้วสื่อสารได้ทันที ยังมีความสับสนอยู่บ้าง”

คริสติน่า : “มันไม่ได้มาเป็นประโยคค่ะ ตอนที่เขากลับมา เขาดูค่อนข้างสับสน เขาคิดว่าเขากำลังทำงานอยู่ เหมือนเขากำลังอยู่ในฉาก แล้วเขาถามว่า ฉากต่อไปคืออะไร”

คิดว่าเป็นปาฏิหาริย์ไหม?

คริสติน่า : “มันคือปาฏิหาริย์ค่ะ เพราะโดยทั่วไปคนที่ไม่ได้สติเป็นเวลานาน เขาอาจกลับคืนสู่สภาพนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้มันดีมาก ๆ ค่ะ”

ถามถึงลูกสาว?

คิตตี้ : “เธอดีใจมากที่ได้พบพ่ออีกครั้ง แต่ก็เผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบากในการทำความเข้าใจว่า พ่อต้องอยู่ที่โรงพยาบาล ไม่ได้อยู่กับเธอทุกวันหรือทำในสิ่งที่เคยทำด้วยกัน เพราะเอสเป็นพ่อที่วิเศษมาก เขาวิ่งกับเธอตลอด เล่นกับเธอตลอด เธอต้องใช้เวลาทำความเข้าใจมากจริง ๆ ว่า ตอนนี้มันไม่เหมือนเดิม ซึ่งเราก็หวังมาก ๆ ว่ามันจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกครั้ง”

ตอน “เอส” ตื่น พูดอะไรกับเขา?

คริสติน่า : “ฉันพูดประมาณว่า ‘ที่รัก เราอยู่ตรงนี้นะ เราอยู่ตรงนี้เพื่อคุณ ไม่ต้องห่วง ใช้เวลาได้เต็มที่ ซึ่งตอนนั้นเขาจำไม่ได้ เขาไม่รู้ว่าเป็นเรา แต่ตอนนี้เขาจำได้แล้ว”

เขาจำคุณได้ไหม?

“ตอนนี้เขาจำได้แล้ว”

เขารู้ไหมว่าแฟนๆคิดถึง รอเขากลับมา?

คริสติน่า : “ฉันบอกค่ะ ฉันพยายามอธิบายเขาว่าทุกคนรอเขาอยู่ ทุกคนอวยพรให้คุณหาย เท่าที่เขาจะเข้าใจได้ ฉันพยายามช่วยเขาให้กำลังใจเขาเท่าที่ทำได้ ว่าทุกคนรออยู่ ทุกคนรักคุณ … เขาเหมือนจะเข้าใจนะ ฉันมั่นใจว่าเขาอยากกลับมา”

ความรู้สึกแรกที่ “เอส” รู้สึกตัว เรารู้สึกยังไง?

เอ : “เหมือนปาฏิหาริย์จริงๆ ค่ะ เห็นแล้วน้ำตาไหล เพราะสิ่งที่คาดหวังมันเป็นจริงแล้ว ที่พี่เอสได้ฟื้นขึ้นมา วันที่ไปเยี่ยมวันแรกที่ได้เจอกัน ที่ไปดูตัวพี่เอสครั้งแรก และเปิดไฟส่องไปที่พี่เอส คือพูดทุกเรื่อง เรื่องในอดีต พี่เอสจะจำได้หมดเลย (ในส่วนงานหลังจากนี้?) ก็ยังไม่สามารถตอบได้ในตอนนี้ เพราะทุกอย่างมันลุ้นวันต่อวัน เพราะฉะนั้นงานทุกอย่าง ก็ไม่สามารถตอบได้ตอนนี้ ว่าจะเริ่มได้เมื่อไหร่”

คุณหมอ : “อยากให้โฟกัสว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้คืออะไร ตอนนี้คุณเอสอยู่ในฐานะผู้ป่วยและเพิ่งพ้นวิกฤต ที่สำคัญตอนนี้คือการฟื้นฟู”

โอกาสกลับมา 100 เปอร์เซ็นต์ ยังมีอยู่ใช่ไหมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง?

คุณหมอ : “เราไม่ตัดโอกาสนั้น ทุกครั้งที่เราทำการรักษาใดๆ ลงไป รวมไปถึงการทำกายภาพทั้งหมด เรามีความคาดหวังว่าคนไข้จะต้องกลับมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

 ฟื้นแล้ว! “เอส กันตพงศ์” พ้นวิกฤต ทีมแพทย์และครอบครัวแถลงอัปเดตอาการ

คุณแม่อยากขอบคุณใครบ้าง?

คุณแม่ : “อยากขอบคุณโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลตำรวจ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน แต่สำคัญที่สุดคือช่อง 7 ดูแลทุกอย่างตั้งแต่วันแรก จนถึง ณ วันนี้ ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ดูแลดีมาก ยิ่งคุณหมอที่คุยกันตลอดเวลา”

คริสติน่า” อยากพูดอะไรบ้าง?

คริสติน่า : “ฉันอยากบอกอีกครั้งว่า ขอบคุณทุกคนที่ซัพพอร์ตเราดีมาก ที่เข้าใจว่าเราต้องใช้เวลา เพราะเราเสียใจมาก เราเหนื่อยมาก เราดูแลเอสทุกวันทุกเวลา โดยเฉพาะคุณแม่ ครอบครัว ลูกพี่ลูกน้อง สามีของลูกพี่ลูกน้อง ทุกคนดูแลเขาตลอดเวลา เราล้ากันมาก ซึ่งเราต้องขอโทษที่ทำให้บางทีเราไม่สามารถอัปเดตข้อมูลได้เร็วเท่าที่ทุกคนต้องการ แต่เราพยายามอย่างดีที่สุด เราพยายามแชร์ข้อมูลเท่าที่ทำได้ แต่เราก็ต้องพยายามปกป้องเอสด้วย เพราะนี่เป็นเรื่องที่อ่อนไหว เราขอให้ทุกคนรู้ว่า เราขอบคุณทุกการสนับสนุน ทุกคนที่อยู่ตรงนี้กับเรา ทุกคนที่ช่วยเหลือเรา ทีมแพทย์ โรงพยาบาล ที่ช่วยเหลือเราเป้นอย่างดี เราหวังจริง ๆ ว่าทุกอย่างจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมในเร็ววัน ที่เอสจะกลับมา เป็นสามี เป็นพ่อให้วาเลนตินา ให้มันจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง”

คุณหมอ : “อาจจะขอโทษนิดหนึ่งที่ไม่สามารถอัปเดตได้ตลอด เราอย่าลืมว่าเมื่อเขาเปลี่ยนสถานะจากคนของประชาชนมาเป็นผู้ป่วยวิกฤต การที่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง ต้องเจอภาวะแบบนี้ เราจะต้องให้เวลา ให้โอกาส”

ก่อนหน้านี้ที่มีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่มีความคลาดเคลื่อน ช่วยปลอบใจครอบครัวยังไงบ้าง?

เอ : “เราโฟกัสที่ครอบครัวพี่เอส และอาการป่วย ไม่ได้ดูข่าวเลย คอยถามน้องปอยที่เป็นคนดูแลเอส ว่าอาการเป็นยังไงบ้าง และคอยถามถึงคุณแม่ โฟกัสแค่เรื่องนี้”

“เอส” หลับไปกี่วัน?

คุณหมอ : “ประมาณ 8 วันครับ นับตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการ วันที่ 8 เริ่มฟื้นตัว”

สิ่งที่ทำให้รับรู้ว่าเป็นการฟื้นตัวคืออะไร?

คุณหมอ : “เริ่มต้นเราจะดูที่การขยับแขนขาก่อน แล้วก็เริ่มมีการสื่อสารแบบที่มีความหมาย”

You May Also Like

More From Author